ลูกโท๊ะ
สมัยเด็กๆผลไม้ที่พวกผมพยายามสอดส่ายสายตามองหาเพื่อกินดับความหิว
ตอนเดินกลับบ้านหลังเลิกเรียน ตรงไหนที่เป็นทุ่งโล่งไม่มีต้นไม้ใหญ่อยู่มักจะพบต้นไม้ขนาดย่อมๆสูงประมาณ
๑ – ๒ เมตร มีผลคล้ายฝรั่งตอนที่เป็นลูกเล็กๆ ผลมีสีเขียวขนาดเท่าหัวแม่มือ
เมื่อสุกสีจะอมม่วง มีรสหวานอมฝาดเล็กน้อย
เมื่อเจอต้นก็จะแวะเข้าไปดูเพื่อหาลูกสุเก็บมากินแก้หิว ผลไม้ที่ว่าก็คือ “ลูกโท๊ะ”
ลูกโท๊ะก็เป็นผลไม้ที่ปรารถนาของเด็กๆสมัยนั้น เหมือนกับผลไม้อื่นๆ เช่น
ลูกเหมร, ลูกยับเยี่ยว,ลูกตาเป็ดตาไก่ (เด็กสมัยนั้นไม่ได้กินผลไม้พวกแอปเปิล,อรุ่นกันหรอกเพราะเป็นผลไม้นำเข้าราคาแพง)
โท๊ะเป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติบริเวณที่เป็นป่าทุ่ง
ส่วนในป่าที่มีต้นไม้ใหญ่จะไม่มีให้เห็น ทีนี้มาดูข้อมูลของต้นโท๊ะที่เป็นวิชาการกันหน่อยนะครับให้สมกับคนเขียนเป็นครูเกษียณ(อดีตครูที่ชอบให้ความรู้....)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhodomyrtus tomentosa (Ait.) Hassk.
วงศ์(Family) Myrtaceae
ชื่อสามัญ(ไทย) ทุ พรวด
ชื่อสามัญ(อังกฤษ) Downy rose myrtle, rose myrtle, downy myrtle,
hill
gooseberry, hill
guava, isenbery bush, Ceylon hill cherry
ชื่อท้องถิ่น โท๊ะ (ภาคใต้)
Kuuam (มาเลเซีย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ มาจากภาษากรีก โดยชื่อ Rhodon แปลว่า
แดง
ส่วน myrtos แปลว่า
myrtle หรือเมื่อเรียกรวมกันคือ ดอกไม้สีแดง
คล้ายดอกกุหลาบ (rose colored flower)
ต้นโท๊ะ เป็นไม้พุ่มเขียวชะอุ่มทั้งปี
ความสูงประมาณ 2-3
เมตร
และสามารถเติบโตขยายพันธุ์เป็นพืชเชิงเดี่ยวได้
ใบ รูปไข่ปลายมน (elliptic - oval) ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร
กว้างประมาณ 1.5 - 4 เซนติเมตร
หน้าใบเป็นมัน ส่วนหลังใบมีขน
ละเอียดปกคลุม
โดยมีเส้นใบนูนสามเส้น
ดอก สีของดอกโท๊ะเป็นสีชมพูกุหลาบ
กลีบดอกชั้นเดียว มีสีชมพู
อ่อนถึงแก่ในช่อเดียวกัน
ขนาดดอกกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
2
- 3 เซนติเมตร
ผลอ่อน มีสีเขียวแล้วจะค่อย ๆ
สุกกลายเป็นสีแดง จนสุกจัด
กลายเป็นสีม่วงอมดำ มีขนาดกว้างประมาณ
1 - 2 เซนติเมตร
ลักษณะคล้ายผลบลูเบอรี่
แต่จะค่อนข้างยาวกว่า
การปลูก ขณะนี้ยังไม่มีการปลูกโท๊ะเพื่อประโยชน์ทางการค้า
มีเพียงการปลูก
โท๊ะไว้เพื่อเป็นการเก็บรวบรวมพันธุ์และตกแต่งสถานที่
ในมลรัฐฮาวายและฟอริดาของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศมาเลเซียนั้น
โท๊ะถือว่าเป็นวัชพืชหลัก หรือร้ายแรง (principal or noxious weed)
โท๊ะขึ้นได้ในดินทุกประเภท แต่มักพบโท๊ะแถบป่าชายหาด
และสามารถทนความเค็มและเกร็ดน้ำแข็ง (frost) ได้ สามารถทนอุณหภูมิได้ถึง
-7 องสาเซลเซียส และยังสามารถปรับตัวกับไฟป่า
อีกทั้งเจริญเติบโตได้ดีหลังจากเกิดไฟไหม้ป่า
การขยายพันธุ์ โท๊ะ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดที่ติดไปกับนกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ
ที่กินผลโท๊ะเป็นอาหาร ผลโท๊ะมีเมล็ดมาก
และมีอัตราการงอกสูงมาก
โดยในระยะแรกของการงอกจะเจริญเติบโตได้ดีถ้าดินมีความชื้นเพียงพอ
โรคและแมลงที่ปรากฏ โท๊ะ ที่สำรวจพบเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อ Phoma sp . อาการของ
โรคมีลักษณะเป็นแผล กลม รี มีสีม่วงแดง
ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตรงบริเวณกลางแผลจะปรากฏ พิคนีเดีย (pynidia) คือเป็นตุ่มนูนสีดำ
การใช้ประโยชน์ ถึงแม้ว่า โท๊ะจะเป็นพืชพันธุ์บุกรุกในประเทศสหรัฐอเมริกา
แต่ในประเทศไทยนั้น โท๊ะ ได้หายไปจากสายตาคนในท้องถิ่นไปมาก โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีการแปรเปลี่ยนพื้นที่ที่โท๊ะชอบขึ้นกลายเป็นไม้เศรษฐกิจอื่นๆ
เช่น ปาล์มน้ำมัน และ ยางพารา
ลักษณะการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลูกโท๊ะ
นอกเหนือจากการทำเป็นไวน์ผลไม้แล้ว ยังจะสามารถแปรรูปเป็นแยมลูกโท๊ะ หรือผลไม้กวนลูกโท๊ะ
ไม้โท๊ะนั้นมีการใช้ประโยชน์เป็นไม้ฟืน ไม้โท๊ะค่อนข้างแข็ง
ชาวบ้านแถบนี้ใช้เป็นไม้ขัดแตะ เป็นคอกสัตว์เล็ก
และในบางพื้นที่มีการปลูกโท๊ะเพื่อเป็นไม้ประดับในสวน ส่วนในฮาวาย มีการทำมาลัย (lei)
โดยใช้ดอกโท๊ะมาประกอบ
เอกสารอ้างอิงและ Web link http://aquat1.ifas.ufl.edu/
http://www.archbold-station.org/
http://www.doa.go.th/botany/rhodtom.html
http://ec.hku.hk/
://www.hear.org/starr/hiplants
ภาพประกอบ จากอินเทอร์เน็ตโดยคุณชบาตานี(ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง)
|