ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ
ในระบบเศรษฐกิจ แรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลผลิต
พลังของผู้ใช้แรงงานจะแฝงอยู่ในผลผลิตทุกชิ้น ดังนั้นความมั่นคงก้าวหน้าหรือความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ
แรงงานย่อมมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง
ทั้งในด้านผลประโยชน์ค่าตอบแทน และสวัสดิการ ฯลฯ ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน
เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่าง
จริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันแรงงานแห่งชาติ”
ตามที่คณะพรรคสังคมนิยมระหว่างชาติได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432
ในประเทศยุโรปส่วนมาก ก็กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม
เป็นวันแรงงานเช่นเดียวกัน และเรียกว่า “วันกรรมกรสากล”
หรือ วันเมย์เดย์ ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ที่ถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนกันยายนเป็นวันแรงงาน
ในเมืองไทยเริ่มมีการจัดการบริหารแรงงานขึ้นใน พ.ศ.2475 เมื่อรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดหางานประจำท้องถิ่น
พ.ศ.2475
การบริหารแรงงาน หมายถึงการจัดสรรและพัฒนาแรงงาน
คุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน สร้างรากฐานและขบวนการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาระการสร้างงานประกอบอาชีพ เพื่อ พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้งกองกรรมกรขึ้น
ทำหน้าที่ด้านการจัดหางาน และศึกษาภาวะความเป็นอยู่ของคนงานทั่วไป พ.ศ.2499
รัฐบาลได้ขยายกิจการสัมพันธ์มากขึ้น และประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฉบับแรก
พ.ศ.2508 และปีเดียวกันนี้ได้มีการจัดตั้งกรมแรงงานขึ้น
อีกทั้งประกาศใช้พระ ราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ในปัจจุบันใช พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ.2518
วันแรงงาน วันแรงงานแห่งชาติ ปัจุบบันการบริการงาน
อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
หน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
การ จัดหางาน
ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือ
1.
สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย
2.
สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย
3.
สภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย
เครดิต http://www.tlcthai.com/
|